ปรึกษาเรื่องเอดส์และท้องไม่พร้อม โทร 1663
เป้าหมาย
 
  1.      เพื่อส่งเสริมศักยภาพในการป้องกันเอดส์ให้กับประชาชน โดยเน้นการเสนอทางเลือกในการลดความเสี่ยงที่หลากหลาย และสอดคล้องกับวิถีชีวิตของแต่ละกลุ่มบุคคล
  2.      เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้มีเชื้อเอชไอวี และครอบครัว โดยการผลักดันให้เกิดสวัสดิการทางสังคมที่เท่าเทียม และเพียงพอต่อการรองรับปัญหาที่ผู้มีเชื้อต้องเผชิญ
  3.      เพื่อส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจในสังคมต่อผู้มีเชื้อเอชไอวี และครอบครัวโดยการลดอคติ การรังเกียจ และการเลือกปฏิบัติที่มีต่อผู้มีเชื้อเอชไอวี ตลอดจนการปกป้องสิทธิ และโอกาสของผู้มีเชื้อเอชไอวีและครอบครัว

     o        สำนักงานกรุงเทพ
     
เริ่มก่อตั้งเมื่อปี 2536 ในช่วงที่เริ่มมีสถานการณ์การแพร่ระบาดของเอดส์ และพบปรากฏการณ์ของการรังเกียจ
     แบ่งแยกผู้ติดเชื้อเอชไอวี โดยเริ่มให้บริการผ่านการให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์แบบนิรนาม 
     จนกระทั่งพัฒนามาเป็นสายฮอตไลน์ปรึกษาเรื่องเอดส์ในปัจจุบัน  
     ปัจจุบันสำนักงานกรุงเทพเน้นการดำเนินงานหลักในการรณรงค์วงกว้างทั้งในระดับสาธารณะ นโยบายระดับประเทศ 
     โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมการเข้าถึงการรักษา และการป้องกันเอดส์ผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น การเคลื่อนไหวนโยบาย
     เพื่อการเข้าถึงการรักษา, การเคลื่อนไหวเพื่อคัดค้านการทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีหรือเอฟทีเอที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ, 
     การจัดกิจกรรมส่งเสริมการป้องกัน เช่นการประกวดหนังสั้นเรื่องเอดส์ เป็นต้น  
     
     ·         งานของเรา
          เมื่อ “เอดส์” คือปัญหาหนึ่งในสังคมไทย เราจึงพบว่า... 
  1.       ผู้ที่มีเชื้อเอชไอวีจำนวนมาก เมื่อรู้ว่าติดเชื้อ ไม่มีทางออก ไม่มีข้อมูล ไม่กล้าบอกใคร หลายรายปล่อยให้ตัวเองเจ็บป่วย 
          หลายรายไม่สามารถอยู่ร่วมกับครอบครัว ชุมชน ถูกลิดรอนสิทธิ และถูกรังเกียจ
  2.       มีคนจำนวนมากที่ยังคงมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน มีความกังวลว่าจะเสี่ยงต่อการรับเชื้อเอชไอวี แต่ไม่รู้ว่าจะหาข้อมูล 
          หรือข้อเท็จจริง เพื่อที่จะหาทางจัดการกับความกังวลนั้นได้อย่างไร
  3.       กว่า 80% ของการติดเชื้อเอชไอวีมีสาเหตุมากจากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน แต่กลับพบว่า 
          มีผู้หญิงจำนวนมากไม่กล้าพูดเรื่องเพศ  คนจำนวนมากไม่กล้าพกถุงยางอนามัย วัยรุ่นมีเพศสัมพันธ์เร็วขึ้น 
          และเด็กไม่ได้รับโอกาสในการเรียนรู้เรื่อเพศที่รอบด้าน
  4.       คนส่วนใหญ่ในสังคมไทย ยังมองเรื่องเอดส์ เป็นเรื่องของความโชคร้าย มองคนที่มีเชื้อเอชไอวีว่าเป็นคนที่น่าสงสาร 
          การสงเคราะห์จึงเป็นทางออก แต่ไม่ยั่งยืน
  5.       “เอดส์” ยังถูกบอก และสื่อสารในสังคมผ่านแง่มุมด้านลบ เช่นการเน้นย้ำว่าเอดส์เป็นโรคที่รักษาไม่หาย, 
          คนที่ติดเชื้อคือคนบางกลุ่มที่มีพฤติกรรมไม่ดี หรือการใช้ภาพผู้ป่วยที่ดูน่ากลัวมานำเสนอเป็นต้น 
          ส่งผลให้คนที่มีเชื้อเอชไอวีหมดหวัง ไม่ออกมาเข้ารับบริการรักษา รวมทั้งยังส่งผลให้คนอื่นในสังคมเกิดความรังเกียจ 
          และไม่อยากอยู่ร่วมกัน
 เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจใหม่ในเรื่องเอดส์ “แอคเซส” จึงคิดค้นงานเพื่อคลี่คลายปัญหาดังนี้
     
Ø       บริการให้คำปรึกษาที่สำนักงานและทางโทรศัพท์
      กรุงเทพ              โทร 1663         ตั้งแต่ 09.00 น. ถึง 21.00 น. ทุกวัน

      ให้บริการสำหรับ
               a.       ผู้ที่มีความกังวลต่อการรับเชื้อเอชไอวี
               b.       ผู้มีเชื้อเอชไอวี / ผู้ป่วยเอดส์และครอบครัว 
               c.       ผู้ใช้ยาเสพติดและครอบครัว
               d.       คนที่รักเพศเดียวกัน, มีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกัน และครอบครัว

  Ø       การจัดอบรมผู้ปฏิบัติงานด้านเอดส์ทั้งหน่วยงานรัฐและเอกชน
             จัดอบรมทั้งในด้านวิชาการ ทัศนคติและทักษะเพื่อการเข้าใจต่อรากฐานปัญหาเอดส์ 
             เพื่อนำไปสู่การดำเนินงานเอดส์ได้อย่างมีทิศทางและสอดคล้องกับสภาพปัญหา  
      Ø       การให้การศึกษาเพื่อสร้างความเข้าใจเรื่องเอดส์กับประชาชนกลุ่มต่างๆ
            -   การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องเอดส์ และเพศศึกษาในชุมชน และโรงเรียน
            -   การผลิตสื่อรูปแบบต่างๆ เช่นนิทรรศการ ภาพถ่ายผู้มีเชื้อเอชไอวี “คือเรา” หนังสือ “คือความเข้าใจ” 
            คู่มือการดูแลสำหรับผู้มีเชื้อ คู่มือยาต้านไวรัสเอชไอวี รวมทั้งโปสเตอร์รณรงค์ในโอกาสต่างๆ สารคดีและรายการโทรทัศน์
            และสปอตวิทยุสำหรับการออกอากาศ รวมถึงหนังสือเสียงสำหรับผู้พิการทางสายตาด้วย 
      Ø       การผลักดันในเชิงนโยบายด้านสังคมที่มีผลต่อการแก้ปัญหาเอดส์
            -   ร่วมมือกับเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผลักดันให้เกิดระบบบริการรักษาด้วยยาต้านไวรัสและโรคฉวยโอกาสต่างๆ 
            ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
            -   พัฒนาและส่งเสริมให้กลุ่มผู้ติดเชื้อเข้ามามีบทบาทในการร่วมเป็นผู้ให้บริการในโรงพยาบาล
            ภายใต้โครงการศูนย์บริการองค์รวม
            -   ผลักดันให้พรรคการเมืองมีนโยบายและทิศทางการแก้ไขปัญหาเอดส์-        ผลักดันให้ราคายาถูกลง สนับสนุนให้รัฐใช้มาตรการทางกฎหมายเช่น มาตรการบังคับใช้สิทธิ (CL) เพื่อนำไปสู่การเข้าถึงยารักษาโรคได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม 
  Ø       การจัดกิจกรรมระดมทุน
                 -          จัดวางกล่องระดมทุนเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของสังคม เพื่อสนับสนุนการทำงานของมูลนิธิ ฯ  
      Ø       งานสร้างเครือข่ายระดับภูมิภาค (ลุ่มน้ำโขง)
            
-          จัดหลักสูตรอบรมด้านเอดส์สำหรับคนทำงานเอดส์ในหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนรวมทั้งผู้มีเชื้อเอชไอวี 
            ในระดับภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เช่น ลาว เวียดนาม พม่า เขมร จีน และเนปาล
            -          จัดการดูงาน แลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างประเทศในประเด็นต่างๆ เช่น การลดอันตรายจากการใช้สารเสพติด, 
            การทำงานของผู้ติดเชื้อในชุมชนเป็นต้น 
      Ø       ประกวดหนังสั้นเรื่องเพศและเอดส์ โครงการ “หนังม่านรูด”
            เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดการสื่อสารเรื่องเพศในสังคม   เพื่อนำไปสู่การป้องกันตนเองจากการรับเชื้อเอชไอวี 
      Ø       สร้างความเข้าใจกับชุมชนเรื่องการทดลองวัคซีนเอดส์
            เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมให้ชุมชนได้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องเอดส์ รวมทั้งเตรียมชุมชนให้เข้าไปมีส่วนร่วม
            ในโครงการทดลองวัคซีนต่างๆ โดยมีพื้นที่การทำงาน 2 จังหวัดคือ จ.ระยอง และ จ.ชลบุรี 
      Ø       รณรงค์สร้างความเข้าใจในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเอดส์และสุขภาพ
            - รณรงค์ให้ข้อมูลกับประชาชนและสื่อมวลชนในเรื่องข้อตกลงทางการค้าที่ส่งผลกระทบต่อระบบสุขภาพ
              โดยเน้นเรื่องเขตการค้าเสรี (Free Trade Area : FTA ) ที่มีผลต่อการเข้าถึงการรักษาและยาของประชาชน
            - ผลักดันให้รัฐใช้มาตรการทางกฎหมายเพื่อลดอุปสรรคต่อการเข้าถึงยา ทำให้ยาราคาถูกลง 
              เช่น มาตรการบังคับใช้สิทธิ (Compulsory License) 
      Ø       การทำงานร่วมกับเครือข่ายผู้มีเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย 
            
เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้มีเชื้อ ทั้งองค์ความรู้ และทักษะ ที่นำไปสู่การพัฒนาการทำงานของเครือข่ายฯ  
            รวมทั้งยังร่วมมือเพื่อผลักดันนโยบายต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเอดส์ร่วมกัน 
      Ø       โครงการเพื่อการป้องกันและส่งเสริมการเข้าถึงการรักษา ภาคใต้
            
-        เพื่อค้นหาแนวทางการทำงานเพื่อการส่งเสริมการป้องกันเอดส์โดยเฉพาะในบริบทสังคมมุสลิม 
            -        เพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเข้าถึงการรักษาของผู้ใช้สารเสพติดที่เป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี 
      Ø       ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษาในโรงเรียน
            
-        เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษาในโรงเรียนโดยผนวกเข้าเป็นหลักสูตรของสถานศึกษา 
                 ผ่านโครงการก้าวย่างอย่างเข้าใจ 
            -        เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเยาวชนเชิงบวก
            -        เพื่อสร้างทัศนคติในทางบวกต่อเพศศึกษาให้กับผู้ปกครอง สนับสนุนการพูดคุยเรื่องเพศศึกษาในครอบครัวอย่างเข้าใจ