ปรึกษาเรื่องเอดส์และท้องไม่พร้อม โทร 1663
Toggle navigation
หน้าแรก
รณรงค์รัฐสวัสดิการ
ระบบบำนาญแห่งชาติ
ประกันสังคม
หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
ระบบสิทธิบัตรและการเข้าถึงยา
เอดส์และท้องไม่พร้อม
1663 สายด่วนเอดส์และท้องไม่พร้อม
โครงการ เอดส์ 360
ข้อมูลเอดส์/ท้องไม่พร้อม
สื่อ/ดาวน์โหลด
สิ่งพิมพ์
คลิปวิดีโอ
หนังสั้น
เกี่ยวกับเรา
ปรัชญา/ความเชื่อ
เป้าหมาย
โครงสร้างการบริหาร
ติดต่อเรา
หน้าแรก
ระบบบำนาญแห่งชาติ
ปฏิรูปภาษี (เงินได้) ลดความเหลื่อมล้ำ
By nuttynui 22 พ.ค 2561 18:02:03
..
#คลิปเก่าเล่าวนไป
..
ประเทศไทยมีแรงงานประมาณ 39 ล้านคน แต่มีคนยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประมาณ 10 ล้านคน และในบรรดาคนยื่นแบบภาษีหลายคนรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ จึงมีคนเสียภาษีจริงๆ 3 ล้าน 3 แสนคนเท่านั้น (เป็นมนุษย์เงินเดือนที่หนีภาษีได้ยาก)
...
คนที่มีรายได้สูงที่สุดที่ต้องเสียภาษีมากที่สุด (เสียภาษีประมาณร้อยละ 30 – 35 ของรายได้) มีอยู่แค่ประมาณร้อยละ 10.7 และถ้าเทียบเงินภาษีที่รัฐเก็บได้จากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทั้งหมด เป็นเงินภาษีที่มาจากคนที่มีรายได้สูงที่สุดเพียงร้อยละ 4.7 เท่านั้น นอกนั้นเป็นเงินภาษีที่มาจากคนที่มีรายได้ปานกลางและคนที่มีรายได้ขั้นต่ำที่เข้าเกณฑ์ต้องเสียภาษี
...
เงินภาษีที่หายไปมาจาก “มาตรการลดหย่อนภาษี” ที่รัฐลดหย่อนไปกว่าหนึ่งแสนล้านบาท
...
ส่วนหนึ่งลดหย่อนเพื่อดูแลครอบครัว อีกส่วนหนึ่งลดหย่อนภาษีให้กับคนที่ออมและคนที่ลงทุนประมาณสี่หมื่นเจ็ดพันล้านบาท เงินที่มีคนขอลดหย่อนมากที่สุด คือ ประกันชีวิตประมาณ 13,270 ล้านบาท ตามด้วยการซื้อกองทุน/หน่วยลงทุนต่างๆ เช่น LTF, RMF เงินสำรองเลี้ยงชีพ ฯลฯ
…
ใครได้ประโยชน์จากการลดหย่อยภาษี
...
30% ของเงินที่ลดหย่อนภาษีเป็นของคนที่รวยที่สุด 5% หรือเทียบง่ายๆ คนจนที่สุดของประเทศจะได้รับการลดหย่อนภาษีคนละ 1,800 บาท แต่คนที่รวยที่สุดของประเทศจะได้รับการลดหย่อนประมาณ 262,000 บาท
...
แม้รัฐจะมีอัตราการเก็บภาษีจากคนรวยเยอะกว่าคนจน แต่ด้วย “มาตรการลดหย่อนภาษี” ก็พบว่าคนรวยได้รับการลดหย่อนเยอะ ภาษีที่หวังว่าจะเก็บแบบก้าวหน้า ยิ่งรวยยิ่งเก็บเยอะก็ไม่เป็นอย่างที่หวัง ประโยชน์จากการลดหย่อนไปตกอยู่ที่คนที่มีกำลังซื้อ
...
รัฐจึงควรปฏิรูประบบภาษีให้เกิดความเป็นธรรม เช่น มีแนวทางให้รัฐลดอัตราการจัดเก็บภาษีรายได้บุคคลสูงสุดแต่ในขณะเดียวกันก็ต้องลดมาตรการลดหย่อนภาษีด้วย เป็นต้น
...
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่างช่องว่างของความเหลื่อมล้ำจะ “เพิ่มขึ้น” หรือ “ลดลง” แต่ภาษีเป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่ง หรือเครื่องมือหนึ่งของรัฐที่จะช่วยให้เกิดขึ้นเท่านั้น
...
ดูเพิ่มเติม: รายการคิดยกกำลังสอง
http://program.thaipbs.or.th/Commentator/episodes/50131
อ้างอิงรูป:
https://tdri.or.th/2018/01/thinkx2-229/
...
-->
X
เข้าสู่ระบบ
ชื่อผู้ใช้งาน
รหัสผ่าน
X
เข้าสู่ระบบ
ชื่อผู้ใช้งาน