ปรึกษาเรื่องเอดส์และท้องไม่พร้อม โทร 1663

เอดส์กับดักอคติและความไม่รู้ (2) ห่วงโซ่ผลกระทบไม่จบสิ้น

By nuttynui 5 ก.ย 2561 13:47:03
แม้จะพยายามอธิบายถึงหลักการของการติดเชื้อเอชไอวี (QQR ดูบทความก่อนหน้า....แปะลิงค์) แต่ก็ยังมีความกังวล และไม่เชื่อในข้อมูลนำเสนอ ลองมาอ่านกันต่ออีกสักหน่อย ไล่เรียงกันไปแบบนี้นะ
  1. Description: No automatic alt text available.กรณีของสถิติที่นำมาตั้งข้อสังเกตจากเพจต่างๆ เช่นตัวเลขที่บอกว่า การติดจากเข็มฉีดยาเสพติดร่วมกัน (Needle Sharing during injecting drug) มีโอกาส 6.7 ต่อ 1,000 ครั้งของการใช้เข็ม  และการใช้เข็มสำหรับเก็บเลือด (Percutaneous needle exposure) กรณีนี้คือการเจาะเลือดในสถานพยาบาล มีโอกาสที่ 3 ต่อ 1,000 (ตามตาราง 1 )
 
ตาราง 1 : จากข้อความที่มีการ post ตั้งคำถามในเพจ1663
 
เมื่อค้นในเว็บไซต์ของกรมควบคุมโรคอเมริกาหรือ CDC  พบว่าตัวเลขใกล้เคียงกันตามนี้ (ตาราง 2) แต่เมื่ออ่านในรายละเอียดการวิจัยพบว่า เป็นตัวอย่างจากการใช้เข็มฉีดยาเสพติดร่วมกัน  และกรณีเข็มที่เจ้าหน้าที่ในรพ.ใช้กรณีเจาะเพื่อตรวจเลือด บริจาคเลือด เก็บเลือด ไม่มีข้อมูลใดที่บอกว่าตัวเลขดังกล่าวมาจากการสัก (Tattoos) ดังนั้นข้อมูลว่าการมีโอกาสเสี่ยงติดเชื้อเอชไอวีจากการใช้เข็ม ต้องอ่านอย่างเข้าใจ และดูบริบทของข้อมูลการวิจัยด้วย ซึ่งเป็นที่ยอมรับทั่วโลกอยู่แล้วว่า การเสี่ยงโดยการใช้เข็มฉีดยาเสพติดร่วมกันมีความเสี่ยงสูง (วิธีใช้ส่วนใหญ่จะเจาะเอาเลือดเข้ามาปนกับสารเสพติดในกระบอก เรียกว่าโช๊ค แล้วฉีดกลับเข้าไปในร่างกาย โดยต้องมีเงื่อนไขว่าเป็นการใช้ต่อๆกัน ไม่ทำความสะอาดเข็มและกระบอกฉีด ทั่วโลกจึงมีการทำงานให้มีการแลกเปลี่ยนเข็มและกระบอกสะอาดเพื่อลดโอกาสเสี่ยง
 
 
ตาราง 2 ข้อมูลจาก CDC USA : https://www.cdc.gov/hiv/risk/estimates/riskbehaviors.html
 
กรณีที่มีการยกกรณีศึกษาของอินเดียมา ที่พบว่ามีชายอายุ 26 อ้างว่าติดเชื้อจากการสัก เมื่ออ่านในรายละเอียดของบทความในเว็บนี้ https://www.omicsonline.org/open-access/hiv-transmission-through-tattoos-2572-0805-1000124.php?aid=93490  จะพบว่ามีข้อสังเกตและควรตั้งคำถามต่อข้อมูลในรายงานนี้ เช่นการระบุว่า ชายคนนี้บอกว่าไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ทั้งแบบต่างเพศและเพศเดียวกัน (“He denied both heterosexual and homosexual sexual activities”) ซึ่งต้องตั้งคำถามและคำนึงถึงบริบททั้งสภาพสังคม ความเชื่อเรื่องเพศ ด้วยคนส่วนใหญ่มักไม่ต้องการเปิดเผยชีวิตทางเพศที่แท้จริงของตนเอง กรณีนี้เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าชายคนนี้ไม่เคยร่วมเพศโดยไม่ป้องกันมาก่อน และที่สำคัญเมื่อพยายามค้นหาเคสกรณีแบบนี้ว่ามีการรายงานหรือไม่ ส่วนใหญ่ที่พบเป็นเพียงข่าวที่มีการกล่าวอ้าง แต่ไม่ได้พิสูจน์ข้อเท็จจริง หากลองค้นในเว็บไซต์ด้านเอดส์ที่น่าเชื่อถือหลายเว็บ ก็ไม่พบข้อมูลที่ยืนยันได้ว่ามีการติดเชื้อจากการสักร่างกายจริงๆ
 
การที่ต้องออกมาอธิบายเรื่องนี้อีกครั้ง ไม่ได้ทำไปเพื่อต้องการเอาชนะข้อมูลของใครคนใดคนหนึ่ง แต่ต้องการสร้างความเข้าใจเรื่องเอชไอวีและเอดส์ ที่การใช้ตัวเลขข้อมูลมาอ้างอย่างเดียวไม่ได้ เพราะเรื่องเอดส์มันมีรายละเอียดผลกระทบเป็นห่วงโซ่ ที่หากไม่แก้ความเข้าใจผิด ก็จะยิ่งสร้างความกังวลหวาดกลัวจนเกิดผลกระทบตามมา ทั้งการแปลความผิดจนไม่กล้าใช้ชีวิตร่วมกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี ส่งผลให้เกิดการรังเกียจ เลือกปฏิบัติ ทั้งการบังคับตรวจเลือดก่อนทำงาน การไล่ออกจากงาน การเอาผู้ป่วยไปทิ้งตามวัดหรือสถานสงเคราะห์ แยกของใช้ในบ้าน จนทำให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีหลายคนต้องทุกข์ทรมานต่อการรังเกียจมากยิ่งกว่าทุกข์จากการอาการป่วยเอดส์ด้วยซ้ำ  หลายครั้งเกิดเหตุการณ์แบบนี้และมีการนำเสนอข่าวทางสื่อมวลชน ซึ่งสื่อมวลชนเองต้องคิดวิเคราะห์ด้วยว่า จะไปสัมภาษณ์หรือหาข้อมูลจากใคร ซึ่งหนีไม่พ้นบุคลากรทางการแพทย์ แต่ก็ต้องแน่ใจด้วยว่าเป็นบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ หรือมีประสบการณ์ในประเด็นนั้นๆมาอย่างแท้จริง การรีบทำข่าว ออกข่าว โดยไม่สนใจแหล่งข่าวว่าน่าเชื่อถือได้แค่ไหนด้วย เพื่อลดผลกระทบที่จะเป็นลูกโซ่ไม่มีวันจบสิ้น แม้ข่าวจะจบไป สาธารณะเลิกสนใจไปแล้ว แต่ข้อมูลเหล่านี้มันก็จะยังคงวนเวียนอยู่ไม่ไปไหน และคนที่จะได้รับผลกระทบคือคนที่ต้องมีชีวิตอยู่ร่วมกับเรื่องเหล่านี้ ทั้งผู้ติดเชื้อเอชไอวีรวมทั้งครอบครัวของเขาด้วย 


เอดส์กับดักอคติและความไม่รู้ (ยาวนิด แต่อ่านหน่อย )​
-->