ปรึกษาเรื่องเอดส์และท้องไม่พร้อม โทร 1663
Toggle navigation
หน้าแรก
รณรงค์รัฐสวัสดิการ
ระบบบำนาญแห่งชาติ
ประกันสังคม
หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
ระบบสิทธิบัตรและการเข้าถึงยา
เอดส์และท้องไม่พร้อม
1663 สายด่วนเอดส์และท้องไม่พร้อม
โครงการ เอดส์ 360
ข้อมูลเอดส์/ท้องไม่พร้อม
สื่อ/ดาวน์โหลด
สิ่งพิมพ์
คลิปวิดีโอ
หนังสั้น
เกี่ยวกับเรา
ปรัชญา/ความเชื่อ
เป้าหมาย
โครงสร้างการบริหาร
ติดต่อเรา
หน้าแรก
ระบบบำนาญแห่งชาติ
งานวิจัยระบุ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐมีต้นทุนด้านบัตรสูง เหลือช่วยคนจนไม่ถึงครึ่ง แม้ช่วยแก้ปัญหายากจน แต่แก้ปัญหาเหลื่อมล้ำไม่ได้ แนะรัฐวางเป้าหมายให้ชัด
By nuttynui 8 พ.ค 2562 17:02:34
เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน ที่ผ่านมา มีการสัมมนาเรื่อง “บัตรสวัสดิการแห่งรัฐกับการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ” ที่คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
บัตรคนจนมีต้นทุนด้านการจัดการสูง
ธร ปีติดล อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
กล่าวว่า ในอดีตที่ผ่านมา แนวทางสวัสดิการของประเทศไทยให้เฉพาะคนด้อยโอกาส ช่วยเหลือผู้ยากไร้ เช่น ผู้ป่วยเอดส์ หรือเกษตรกร ซึ่งเป็นโครงการแบบครั้งเดียวจบ อย่างการพักหนี้ให้กับเกษตรกร เป็นต้น ไม่เคยมีโครงการไหน เป็นโครงการขนาดใหญ่เท่ากับโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โดยมีคนลงทะเบียนทั้งสิ้น ๑๔ ล้านคน หรือกว่าร้อยละ ๒๐ ของประชากรในประเทศ
ธร เล่าถึงที่มาที่ไปของโครงการนี้ว่า โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐใช้สถานภาพการถือครองทรัพย์สินในการตรวจสอบรายได้โดยหน่วยงานรัฐ และมีการใช้สวัสดิการแบบเจาะจงกับคนจน ซึ่งถือเป็นหมุดสำคัญในการเปลี่ยนสวัสดิการของประเทศ แทนที่จะให้สวัสดิการแบบถ้วนหน้า และเป็นยุทธศาสตร์ที่ระบุไว้ในยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี รวมถึงมีแนวโน้มจะขยายบทบาทมากขึ้น หากเดินตามยุทธศาสตร์นี้
ทั้งงานวิจัยชิ้นนี้ต้องการดูว่าบัตรสวัสดิการแห่งรัฐแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของประเทศได้หรือไม่ โดยบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เป็นสวัสดิการแบบเฉพาะเจาะจง เฉพาะคนจน คือ ช่วยเฉพาะกลุ่มคนที่มีความจำเป็นจริงๆ หรือรายได้น้อย ขณะที่การให้สวัสดิการแบบถ้วนหน้านั้น มองว่ารัฐควรให้สวัสดิการกับประชาชนในฐานะที่เป็นสิทธิกับพลเมืองของรัฐ เช่น หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือบัตรทอง โดยต้องตอบโจทย์ในเรื่องความเสี่ยงที่ประชาชนต้องเผชิญ อย่างไรก็ตาม ไม่มีประเทศไหนในโลกให้สวัสดิการแบบเดียว เช่น ไม่มีถ้วนหน้าแบบเดียว หรือร่วมจ่ายแบบเดียว
ธร เล่าว่า ความยากของสวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจน คือ จะเจาะจงกลุ่มคนอย่างไร หรือหามาได้อย่างไร ทำให้ปัญหาหลักของบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเป็นวิธีที่มีต้นทุนสูงในการเก็บข้อมูล แม้จะเป็นการลดต้นทุนด้านสวัสดิการ แต่เพิ่มต้นทุนการดำเนินการ โดยโครงการลักษณะนี้เปิดช่องให้คนมีอำนาจทางการเมืองใช้ประโยชน์ด้านอื่นได้
อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ กล่าวว่า หลักการของสวัสดิการแบบเจาะจงกับความเหลื่อมล้ำ คือจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำผ่านการเททรัพยากรไปยังคนจน แต่ประเด็นคือ ทรัพยากรไปที่คนจนจริงๆ ขนาดไหน เช่น ทรัพยากร ๑๐๐% ต้นทุนค่าบริหารโครงการประมาณ ๔๐ – ๖๐% ทำให้เหลือสัดส่วนช่วยคนจนจริงไม่ถึงครึ่ง รวมถึงมีปัจจัยที่แวดล้อมกับสวัสดิการอยู่ อย่างแรงสนับสนุนของระบบสวัสดิการ ที่คนทั่วไปมองว่าตัวเองไม่ได้รับประโยชน์เลยไม่ต้องการจ่ายภาษีให้ หรือไม่ต้องการสนับสนุนโครงการนี้ เป็นต้น
ด้านวี
ระวัฒน์ ภัทรศักดิ์กำจร
อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เล่าถึงที่มาที่ไปของโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐว่า เริ่มเมื่อปี ๒๕๕๙ และในช่วงปลายปีได้เริ่มให้คนลงทะเบียน โดยคนที่มีรายได้ไม่ถึง ๓๐,๐๐๐ บาท จะได้รับเงินช่วยเหลือ ๓,๐๐๐ บาท แต่ถ้ารายได้ ๓๐,๐๐๐ บาทแต่ไม่ถึง ๑๐๐,๐๐๐ บาท จะได้รับ ๑,๕๐๐ บาท โดยฐานคิดของเงิน ๓๐,๐๐๐ บาทต่อปี มาจากอัตราเส้นความยากจน หรือที่ประมาณ ๒,๖๐๐ บาทต่อเดือน
ในปี ๒๕๖๐ มีการเปิดให้ลงทะเบียนเร็วขึ้น โดยกำหนดเงื่อนไขด้านทรัพย์สิน และที่ดินทำกินของผู้ที่มาลงทะเบียนด้วย ทั้งนี้ ผู้ที่ได้รับสิทธิจะได้รับวงเงินในการซื้อของที่ร้านธงฟ้า รวมถึงค่ารถเมล์ ค่ารถไฟ ค่าแก๊ส เป็นต้น ขณะที่ ในปี ๒๕๖๑ มีผู้ลงทะเบียนทั้งสิ้น ๑๔.๕ ล้านคน มีการเพิ่มแรงจูงใจในการฝึกทักษะอาชีพ โดยจะให้วงเงินสูงขึ้น รวมถึงมีการสงเคราะห์ผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ทั้งที่มีเบี้ยผู้สูงอายุอยู่แล้ว ส่วนในปี ๒๕๖๒ มีการเติมเงินเข้ากระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ ให้สามารถกดเงินสดได้
งานวิจัยระบุแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำไม่ได้
วีระวัฒน์ กล่าวถึงปัญหาของโครงการนี้ คือ ๑.การกระจายประโยชน์ (Equity) ด้วยการโอนเงินตรงให้กับประชาชน จะช่วยตัดตอนการคอร์รัปชันได้บางส่วน เนื่องจากไม่ผ่านหน่วยงานท้องถิ่น แต่ยังมีการกระจายประโยชน์ที่ไม่เท่าเทียม เช่น คนที่ได้รับบัตรอยู่ใกล้กับสภาพแวดล้อมนั้นๆ หรือไม่ อย่างอยู่ใกล้ร้านธงฟ้าประชารัฐ หรือได้ใช้ค่ารถโดยสารหรือไม่ เป็นต้น รวมถึงมีข้อสังเกตเรื่องการเอื้อประโยชน์ให้กับร้านธงฟ้าประชารัฐ แต่ทั้งนี้ในปัจจุบันได้แก้ปัญหาด้วยการออกแอปพลิเคชันถุงเงินประชารัฐมาใช้แทนแล้ว
๒.ผลข้างเคียง (Unintended effect) รัฐบาลไม่มีท่าทีที่ชัดเจนว่าเมื่อไหร่จะตัดสิทธิ หรือไม่ให้สวัสดิการ ซึ่งจากการเก็บข้อมูลคนที่ไปสัมภาษณ์ก็ยังใช้ชีวิตตามเดิม เคยทำงานก็ทำเหมือนเดิม และไม่ไปฝึกอาชีพ เพราะการฝึกอาชีพทำให้เสียโอกาสในการทำงานของตัวเอง รวมถึงมีต้นทุนในการเข้าไปฝึกอาชีพอยู่ด้วย นอกจากนี้ยังพบว่า ไม่มีใครต้องการที่จะออกจากโครงการ
๓.ด้านต้นทุน พบว่า ผู้ที่ได้รับบัตรไม่มีต้นทุน เพราะการลงทะเบียนทำได้ไม่ยาก ขณะที่ต้นทุนของโครงการยังไม่สามารถระบุได้ อย่างไรก็ตาม หากเป็นข้อมูลโดยประมาณการว่า หากปี ๒๕๖๑ ใช้งบประมาณเท่ากันกับปี ๒๕๖๐ ค่าใช้จ่ายของโครงการนี้ทั้งหมดจะอยู่ที่ประมาณ ๘๙,๙๐๕ ล้านบาทต่อปี หรือ ๕,๙๒๔ บาทต่อคนต่อปี
๔.ประสิทธิผลของโครงการ พบว่า ประชาชนเข้าถึงข้อมูลดี มีการส่งต่อข่าวสารถึงกัน ขณะที่การแก้ปัญหาความยากจน หากใช้เส้นความยากจนเป็นเกณฑ์ จำนวนคนจนจะลดลงเป็นจำนวนมาก เพราะได้รับเงินเติมเข้าไป แต่ต้องมองให้ไกลกว่านั้นว่า คนมีรายได้ที่ยั่งยืนหรือไม่ อย่างไร ขณะที่ เรื่องความเหลื่อมล้ำนั้นจะไม่สามารถแก้ปัญหาได้เลย เพราะคนส่วนใหญ่ที่อยู่นอกโครงการฯ กว่า ๔๐ ล้านคน ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการนี้ และหากคนส่วนใหญ่เหล่านี้มีอัตราการเติบโตของรายได้ในอัตราที่เร็วกว่าคนจน ก็จะไม่ได้แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำเลย
๕.การยอมรับและความเป็นไปได้ พบว่า มีการตอบรับโครงการดี สามารถบรรเทาปัญหาค่าครองชีพได้บ้าง แต่เรื่องการพัฒนาคุณภาพชีวิต ยังมีข้อจำกัดค่อนข้างมาก และยังไม่ตอบโจทย์ของผู้ที่ถือบัตร เช่น ป่วยติดเตียงเดินทางไม่ได้ ไม่มีแผนระยะยาวสำหรับโครงการฝึกอาชีพ หรือการไม่ตอบโจทย์เรื่องความยั่งยืนของโครงการ ทั้งยัง ไม่มีการชี้วัดในเชิงมหภาคว่าโครงการนี้กระตุ้นเศรษฐกิจขนาดไหนกับการให้เงินเพื่อหมุนเวียนเศรษฐกิจฐานราก
อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ ให้ข้อมูลว่า ด้านนัยทางการเมืองของโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ มีข้อสังเกตว่า โครงการนี้เกี่ยวข้องกับพรรคพลังประชารัฐอย่างแน่นอน โดยโครงการนี้ ผู้มีสิทธิขึ้นทะเบียนได้ต่อเมื่อมีอายุ ๑๘ ปีขึ้นไป ซึ่งมีคนได้รับบัตรสวัสดิการทั้งสิ้น ๑๔.๕ ล้านคน หรือ ๒๒% ของประชากรไทย คิดเป็น ๒๘% ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง รวมถึงเป็นโครงการที่ไม่มีการวางแผนในระยะยาว ไม่เพียงเท่านั้น เมื่อ ๑ มีนาคม ๒๕๖๒ มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการจัดประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม แต่ไม่มีรายละเอียดชัดเจนว่าจะดำเนินการในทางไหน
“ถ้าไม่ยกเลิกบัตรสวัสดิการแห่งรัฐก็น่าจะดีกว่า เพราะช่วยเรื่องการซื้อของอุปโภคบริโภคได้” ธร ให้ความเห็นและว่า ขณะที่โจทย์เรื่องความเหลื่อมล้ำยังไปไม่ถึงภาพฝัน เพราะเรื่องความเหลื่อมล้ำนั้นต้องทำในภาพใหญ่ และมีการคิดอย่างเป็นระบบมากขึ้น พร้อมทั้งเสนอว่า ควรมีการสำรวจข้อมูลผู้มีสิทธิได้รับบัตรซ้ำ และพิจารณาเรื่องการฝึกอาชีพ เพราะคนส่วนใหญ่ที่ได้รับบัตรเป็นผู้สูงอายุ
ด้าน วีระวัฒน์ เสนอแนะว่า ให้วางเป้าหมายของโครงการให้ชัดว่าจะนำมาช่วยแก้ปัญหาความยากจนหรือความเหลื่อมล้ำ
-->
X
เข้าสู่ระบบ
ชื่อผู้ใช้งาน
รหัสผ่าน
X
เข้าสู่ระบบ
ชื่อผู้ใช้งาน