ปรึกษาเรื่องเอดส์และท้องไม่พร้อม โทร 1663

รู้สถานะการติดเชื้อเอชไอวีของตัวเอง รู้สูตรยาทางเลือกในการรักษา และเรียกร้องการรักษาด้วยยาต้านไวรัสที่ดีและเหมาะสมที่สุด!

By nuttynui 27 มิ.ย 2562 22:13:22

ประเด็นหลักของวันเอดส์โลกเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2561 ที่ผ่านมาคือ “รู้ว่าตัวเองติดเชื้อไหม” ซึ่งในประเทศไทยแปลงเป็นคำขวัญว่า “ตรวจเร็ว รักษาเร็ว ยุติเอดส์” 

การชูประเด็น “รู้ว่าตัวเองติดเชื้อไหม” เป็นการส่งเสียงไปยังผู้คนทั่วโลก ให้ไปตรวจเลือดและเลิกตีตรา ซึ่งการไม่ไปตรวจเลือดและการตีตราจากสังคมเป็นอุปสรรคที่ทำให้คนไม่รู้ว่าตนเองติดเชื้อหรือไม่  การตรวจเลือดเป็นบันไดขั้นแรก ที่จะนำไปสู่การรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอชไอวีที่เหมาะสม และจะทำให้คุณภาพชีวิตผู้ติดเชื้อฯ ดีขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะลดอัตราการตายจากโรคเอดส์และผู้ติดเชื้อฯ รายใหม่

แต่ใช่ว่าสูตรยาที่ใช้รักษาจะเท่าเทียมกันหมด การเลือกสูตรยาที่ดีและเหมาะสมที่สุดให้กับผู้ติดเชื้อฯ จะช่วยให้เขาหรือเธอมีคุณภาพชีวิตที่ขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ ตัวอย่างเช่น ยาต้านไวรัสสูตรที่มียาโดลูเทกราเวียร์ (Dolutegravir หรือ DTG) เป็นสูตรยาที่มีให้ผลการักษาที่ดีกว่ายาหลายๆ สูตร ผลข้างเคียงไม่พึงประสงค์น้อยกว่า และที่สำคัญ สามารถลดปริมาณเชื้อเอชไอวีในผู้ติดเชื้อฯ จนถึงระดับที่ตรวจไม่พบในเลือดตัวอย่างได้ ซึ่งนำไปสู่หลักการสากลที่ว่า “การตรวจไม่เจอเชื้อ เท่ากับไม่ส่งต่อเชื้อ” หรือ undetectable = untransmittable (U=U)

Jeed’s t-shirt reads: Get tested for HIV. Get tested to move on. Ending AIDS.
© Gemma Taylor / Make Medicines Affordable

 ข้อความบนเสื้อยืดของจี๊ด: ตรวจเลือด ตรวจเพื่อก้าวต่อ ยุติปัญหาเอดส์
 

กลุ่มรณรงค์ Make Medicines Affordable ทำงานเพื่อให้ผู้คนทั่วโลกเข้าถึงยารักษาเอชไอวี ไวรัสตับอักเสบซี และวัณโรคให้ได้มากขึ้น  ส่วนหนึ่งของงานรณรงค์คือการทำให้ผู้ติดเชื้อฯ มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการรักษา  ผู้ติดเชื้อฯ จะได้รู้ว่าตัวเองมีสูตรยาทางเลือกและสิทธิอะไรบ้าง เพื่อที่จะเรียกร้องให้เข้าถึงสูตรยาต้านฯ ที่ดีและเหมาะที่สุดสำหรับตัวเองและชุมชนของพวกเขา 

เด็กชายบิ๊ก อายุ 11 ปี เป็นคนกรุงเทพฯ และรู้สถานะการติดเชื้อของตัวเอง บิ๊กบอกว่า “ตอนนี้ผมกินยาสูตรผสมสูตรหนึ่งอยู่” แต่ไม่มียาโดลูเทกราเวียร์ หรือ DTG อยู่ในยาสูตรนั้น  ซึ่งเขาอยากใช้ยาสูตรที่มี DTG  เขาพูดถึงยาสูตรที่กินอยู่ว่า “ยาเม็ดใหญ่เหลือเกิน และหลายมากเม็ด!” แม้ว่าจะเป็นยาที่หมอพยายามปรับสูตรให้ “เป็นมิตร” กับเขามากที่สุดแล้ว

“เขาต้องเอายาบางเม็ดมาตัดแบ่งครึ่งเอง เพื่อให้ได้ขนาดยาที่เหมาะกับเขา เพราะมันไม่มียาสูตรสำหรับเด็ก (เม็ดเล็ก)” อภิวัฒน์ กวางแก้ว (จี๊ด) ประธานเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย หรือ TNP+ กล่าว “และถึงแม้จะตัดแบ่งจนได้ขนาดยาที่ร่างกายต้องการแล้ว บางทีก็ยังต้องตัดให้เล็กลงอีก ให้มันเล็กพอที่เด็กจะกลืนได้” 

เครือข่าย TNP+ เป็นองค์กรภาคีกับ มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ 

Big would prefer it if his pills weren’t so large. There aren’t child-friendly versions, so pills intended for adults get cut down instead. © Gemma Taylor / Make Medicines Affordable
 

บิ๊กอยากให้ยาเม็ดไม่ใหญ่ขนาดนี้ แต่ยาที่กินอยู่ไม่มีแบบที่กินง่ายสำหรับเด็กเลย เด็กที่ติดเชื้อฯ ต้องกินยาผู้ใหญ่โดยนำมาตัดแบ่งในได้ขนาดเอาเอง

จี๊ดเป็นอาสาสมัครของศูนย์เมอร์ซี่ ในกรุงเทพฯ ที่ดูแลช่วยเหลือบิ๊กและเด็กๆ ผู้ติดเชื้อเอชไอวีประมาณหนึ่งร้อยคนต่อเดือน  ในจำนวนนี้มีเด็กประมาณ 20 คนที่อาศัยประจำอยู่ที่ศูนย์ฯ เนื่องจากพ่อแม่เสียชีวิตหมดแล้ว  ส่วนคนอื่นๆ มาที่ศูนย์เพื่อร่วมกิจกรรมทางสังคม การศึกษา หรือมากินข้าว  ราวยี่สิบกว่าปีที่แล้ว จี๊ดเองเคยอาศัยศูนย์เมอร์ซี่เป็นที่พักพิงอยู่ประมาณสองปี ในตอนที่เขาตรวจพบว่าติดเชื้อเอชไอวีใหม่ๆ เนื่องจากขณะนั้นยาต้านไวรัสยังราคาแพงมากจนผู้ติดเชื้อฯ ในประเทศไทยเอื้อมไม่ถึง  และยี่สิบปีก่อนนั้นยาต้านไวรัสฯ ยังไม่ถูกบรรจุในระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ “ตอนนั้นผมเฉียดตายมาก จนถึงกับเตรียมงานศพของตัวเองไว้แล้ว ผมถึงกับไปถ่ายรูปสำหรับใช้วางหน้าศพไว้ เพื่อที่ตอนผมตายแม่จะได้ยุ่งน้อยลงไปหนึ่งเรื่อง” ขณะเดียวกันนั้น แม่และพี่น้องของจี๊ดก็วิ่งหาเงินเพื่อมาเป็นค่าใช้จ่ายในการรักษา “เมื่อเริ่มฟื้นตัว ผมก็เริ่มคิดว่าต้องตอบแทน”

ตอนนั้นผมเฉียดตายมาก จนถึงกับเตรียมงานศพของตัวเองไว้แล้วผมถึงกับไปถ่ายรูปสำหรับใช้วางหน้าศพไว้เพื่อที่ตอนผมตายแม่จะได้ยุ่งน้อยลงไปหนึ่งเรื่อง” — จี๊ด

ปัจจุบันนี้จี๊ดอายุ 40 กว่าปี และเรื่องราวของเขาก็ทำให้เราเห็นว่าการรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีมีความก้าวหน้าขึ้นอย่างไรบ้าง ซึ่งจี๊ดเองรู้สึกขอบคุณว่าการรักษาที่ได้รับทำให้เขามาได้ไกลขนาดนี้ ขณะเดียวกันก็เชื่อว่าผู้ป่วยสามารถเรียกร้องการรักษาที่ดีขึ้นได้อีก “โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อวิทยาศาสตร์ก้าวหน้ามาขนาดนี้แล้ว” 

จี๊ดอธิบายว่า ยาต้านไวรัสสูตรที่ใช้กันในประเทศไทยขณะนี้ เป็นที่รู้กันว่ามีผลข้างเคียงมาก  หนึ่งในผลข้างเคียงคืออาการคลื่นไส้วิงเวียน “อาการนี้ส่งผลกระทบชัดเจนต่อสมาธิและความสามารถเวลาที่ต้้องไปเรียนหรือไปทำงาน” เขายังสังเกตว่าผู้ติดเชื้อหลายคนที่ได้รับการรักษาด้วยยาสูตรเหล่านี้ต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปี กลายเป็นคนที่เป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ร่วมด้วย  เมื่อกินยาแล้วทำให้เกิดผลข้างเคียงทำให้เป็นโรคอื่นเพิ่ม หลายคนก็ไม่อยากกินยาให้ครบทุกๆ วัน ซึ่งทำให้เกิดอาการดื้อยาที่กินอยู่ และต้องปรับสูตรยาจากสูตรพื้นฐานไปเป็นสูตรสำรองที่สองและสาม (เมื่อโรคไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาสูตรพื้นฐาน)  นั่นหมายความว่าสูตรยาทางเลือกของผู้ติดเชื้อฯ คนนั้นจะมีน้อยลงเรื่อยๆ  

“การดื้อยาและผลข้างเคียงเป็นเรื่องที่เรากังวลมาก โดยเฉพาะสำหรับเด็กๆ ที่ต้องเริ่มกินยาต้านไวรัสตั้งแต่แรกเกิด” จี๊ดกล่าว “ยาโดลูเทกราเวียร์มีผลข้างเคียงไม่พึงประสงค์น้อย และพิสูจน์แล้วว่าเกิดอาการดื้อยาได้ยากขึ้นด้วย — ยานี้จะช่วยพลิกชีวิตของเด็กๆ ที่ศูนย์เมอร์ซี่จากหน้ามือเป็นหลังมือได้เลยนะ” 

องค์การอนามัยโลกกำหนดให้ยา DTG อยู่ในบัญชียาหลักขององค์การ และแนะนำให้ประเทศต่างๆ ใช้เป็นยาสูตรพื้นฐานหรือสูตรสำรองที่ 2 และ 3 ในการรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี   อย่างไรก็ดี ในประเทศไทยยังคงแนะนำให้ใช้ยา DTG ในฐานะยาสูตรทางเลือกลำดับที่สามเท่านั้น ด้วยเหตุเพราะราคายาที่บริษัท วีฟ เฮลท์แคร์ (ViiV Healthcare) ผู้เป็นเจ้าของสิทธิบัตรยา DTG ขายแพงถึง 350 เหรียญฯ ต่อคนต่อเดือน  ดังนั้น รัฐบาลจึงไม่มีทางที่จะขยายสิทธิประโยชน์ให้ใช้ยา DTG เป็นยาสูตรพื้นฐานได้ แม้ว่าจะเป็นยาที่ดีและมีผู้ติดเชื้อฯ จำนวนมากจำเป็นต้องใช้ แต่ราคาแพง

ไม่นานมานี้ แม้ว่าในปัจจุบันได้มีข้อตกลงที่จะทำให้ราคายา DTG ถูกลง โดยที่อนุญาตให้มียา DTG ที่เป็นยาชื่อสามัญในประเทศต่างๆ ได้ ซึ่งรวมถึงประเทศไทย  ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลมากจาการทำงานผลักดันของกลุ่มรณรงค์ Make Medicines Affordable  แต่มันไม่ง่ายที่จะทำให้มียา DTG ในราคาถูกในไทยเพียงช่วยข้ามคืนได้  กระบวนการในการขอและได้รับการขึ้นทะเบียนสำหรับยาชื่อสามัญใช้เวลานานถึง 6 เดือน  มูลนิธิเข้าถึงเอดส์และเครือข่ายผู้ติดเชื้อฯ กำลังต่อสู้ผลักดันในยา DTG เป็นยาสูตรพื้นฐานในคู่มือการรักษาเอชไอวีของประเทศสำหรับผู้ติดเชื้อฯ ทุกๆ คน เพื่อที่เมื่อยา DTG ที่เป็นยาชื่อสามัญได้รับการขึ้นทะเบียนและนำเข้ามาแล้ว ผู้ติดเชื้อฯ ทุกคนจะได้รับประโยชน์จากยานี้

รู้สถานะการติดเชื้อเอชไอวีของตัวเอง รู้สูตรยาทางเลือกในการรักษา และเรียกร้องการรักษาด้วยยาต้านไวรัสที่ดีและเหมาะสมที่สุด!

ขณะเดียวกัน บริษัทวีฟ ก็ถูกวิจารณ์ว่าไม่ยอมนำยา DTG สูตรที่ใช้สำหรับเด็กมาขึ้นทะเบียนยา ทำให้เด็กๆ ผู้ติดเชื้อเช่นบิ๊กและเพื่อนถูกทิ้งไว้ข้างหลัง ทั้งนี้ มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ และเครือข่ายผู้ติดเชื้อฯ จะเดินหน้าผลักดันทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ เพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่มในทุกประเทศ รวมถึงเด็กๆ สามารถเข้าถึงการรักษาที่ราคาเป็นธรรมและเหมาะสมที่สุดได้

“ยาไม่ใช่เพชรพลอย…เราต้องทำให้ทุกคนเข้าถึงได้” จี๊ดกล่าวทิ้งท้าย

ที่มา 
http://makemedicinesaffordable.org/th/รู้สถานะการติดเชื่อเอช

-->