ปรึกษาเรื่องเอดส์และท้องไม่พร้อม โทร 1663
Toggle navigation
หน้าแรก
รณรงค์รัฐสวัสดิการ
ระบบบำนาญแห่งชาติ
ประกันสังคม
หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
ระบบสิทธิบัตรและการเข้าถึงยา
เอดส์และท้องไม่พร้อม
1663 สายด่วนเอดส์และท้องไม่พร้อม
โครงการ เอดส์ 360
ข้อมูลเอดส์/ท้องไม่พร้อม
สื่อ/ดาวน์โหลด
สิ่งพิมพ์
คลิปวิดีโอ
หนังสั้น
เกี่ยวกับเรา
ปรัชญา/ความเชื่อ
เป้าหมาย
โครงสร้างการบริหาร
ติดต่อเรา
หน้าแรก
ระบบบำนาญแห่งชาติ
ประชาชนกว่า ๑๕,๐๐๐ คนหนุน “บำนาญแห่งชาติ” สร้างหลักประกันรายได้ยามแก่ เตือนจับตา ‘นายก’ เห็นชอบหรือไม่
By nuttynui 11 พ.ย 2562 11:12:15
วันที่ ๖ พฤศจิกายน เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ และประชาชนกว่า ๖๐ คนรวมตัวกันยื่นรายชื่อสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) บำนาญแห่งชาติ พ.ศ. .... จำนวน ๑๔,๖๕๔ รายชื่อ ให้แก่นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา โดยมีนายแทนคุณ จิตต์อิสระ เลขานุการของประธานรัฐสภา เป็นผู้รับมอบหนังสือแทน
นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้ริเริ่มเสนอร่าง พ.ร.บ.บำนาญแห่งชาติ พ.ศ. .... ตัวแทนเครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ ให้สัมภาษณ์ว่า กฎหมายฉบับนี้มีหลักการสำคัญคือการสร้างระบบบำนาญแห่งชาติเป็นหลักประกันทางรายได้สำหรับทุกคน เมื่ออายุ ๖๐ ปีขึ้นไป ให้สามารถมีชีวิตอยู่ได้ในอัตราที่ไม่ต่ำกว่าเส้นความยากจน หรือประมาณ ๓,๐๐๐ บาทต่อเดือน และขณะนี้ คนส่วนใหญ่ในประเทศรู้สึกไม่มั่นคง กังวลใจว่า เมื่อแก่ตัวจะกินอยู่อย่างไร จะเป็นภาระกับลูกหลานหรือไม่ ซึ่งการมีรัฐสวัสดิการ อย่างบำนาญแห่งชาติถือเป็นเรื่องสำคัญ
“การที่ประชาชนกว่า ๑๕,๐๐๐ คนร่วมสนับสนุนร่างกฎหมายฉบับนี้ สะท้อนว่า มีคนจำนวนมากที่เมื่ออายุครบ ๖๐ ปีแล้ว ยังไม่มีหลักประกันด้านรายได้อะไรเลย จะมีเพียงเงินจากเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและเงินจากลูกหลานเท่านั้น ซึ่งการมีบำนาญแห่งชาติ ถือเป็นการคืนภาษี ที่รัฐเก็บไปจากประชาชนในยามที่คนเหล่านี้ยังหนุ่มสาว และได้ทำงานเสียภาษีให้กับประเทศ ดังนั้น เมื่อพวกเขาแก่ตัวลง รัฐจึงต้องจัดหลักประกันด้านรายได้นี้ให้กับพวกเขา” นายนิมิตร์ ให้ความเห็น
ตัวแทนเครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ กล่าวว่า สิ่งที่น่าเป็นห่วงอย่างมากหลังจากนี้ คือการใช้ ดุลยพินิจของนายกรัฐมนตรีที่ต้องให้ความเห็นชอบเบื้องต้นต่อร่างกฎหมาย ว่ามองเรื่องนี้เป็นภาระ เป็นเรื่องของการเมือง เป็นประชานิยมแล้วไม่เซ็นเห็นชอบให้กับสภาเพื่อพิจารณาหรือไม่ หากเป็นเช่นนั้น คือการแสดงออกว่า นายกฯ ไม่เชื่ออย่างเดียวกันกับประชาชน ความพยายามทั้งหมดที่คนกว่า ๑๕,๐๐๐ คนได้ร่วมกันลงรายมือชื่อมาก็จะสูญเปล่าทันที
“พวกเราต้องช่วยกันสื่อสารและเฝ้ามองท่าทีนี้ของนายกรัฐมนตรีต่อไป เพราะกฎหมายฉบับนี้คือการเริ่มต้นสร้างหลักประกันด้านรายได้เมื่อสูงวัย และเป็นเครื่องมือลดความยากจนเรื้อรังที่สำคัญอย่างหนึ่งของประเทศไทยในอนาคต” ผู้ริเริ่มเสนอร่าง พ.ร.บ.บำนาญแห่งชาติ พ.ศ. .... กล่าว
-->
X
เข้าสู่ระบบ
ชื่อผู้ใช้งาน
รหัสผ่าน
X
เข้าสู่ระบบ
ชื่อผู้ใช้งาน