ปรึกษาเรื่องเอดส์และท้องไม่พร้อม โทร 1663
Toggle navigation
หน้าแรก
รณรงค์รัฐสวัสดิการ
ระบบบำนาญแห่งชาติ
ประกันสังคม
หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
ระบบสิทธิบัตรและการเข้าถึงยา
เอดส์และท้องไม่พร้อม
1663 สายด่วนเอดส์และท้องไม่พร้อม
โครงการ เอดส์ 360
ข้อมูลเอดส์/ท้องไม่พร้อม
สื่อ/ดาวน์โหลด
สิ่งพิมพ์
คลิปวิดีโอ
หนังสั้น
เกี่ยวกับเรา
ปรัชญา/ความเชื่อ
เป้าหมาย
โครงสร้างการบริหาร
ติดต่อเรา
หน้าแรก
1663 สายด่วนเอดส์และท้องไม่พร้อม
วิกฤติโควิด-19 กับ ปัญหาท้องไม่พร้อม
By nuttynui 27 มี.ค 2563 13:14:19
ธิติพร ดนตรีพงษ์
สืบเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โควิด-19 สายด่วนปรึกษาเอดส์และท้องไม่พร้อม 1663 ได้งดให้บริการปรึกษาทางโทรศัพท์เพื่อลดการรวมกลุ่มคนจำนวนมาก จากปกติที่มีอาสาสมัครให้บริการวันละ 16 คน เจ้าหน้าที่ดูแลความเรียบร้อยและรับส่งต่ออีก 4 คน ไม่รวมเจ้าหน้าที่ด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัส จึงเปิดให้บริการปรึกษาทางเฟซบุ๊กแฟนเพจ 1663 แทน โดยผู้รับบริการสามารถทักแชทเข้ามาปรึกษาได้ จะมีเจ้าหน้าที่ตอบแบบเรียลไทม์ตลอดเวลา 08.00-23.00 น.ทุกวัน
กล่าวได้ว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของทุกคนในสังคม รัฐบาลได้ออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อจำกัดการแพร่ระบาดของเชื้อ เช่น การขอความมือให้ทำงานที่บ้าน เมื่อต้องออกนอกบ้านให้สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ บุคคลที่ไปพื้นที่กลุ่มเสี่ยงมาต้องกักตัวเอง 14 วัน เป็นต้น และล่าสุดที่มีมาตรการเข้มงวด คือ การตั้งด่านตรวจสอบการเดินทางของประชาชนที่เดินทางข้ามจังหวัด โดยเฉพาะผู้ที่เดินทางโดยรถโดยสารสาธารณะ และทำให้รถโดยสารสาธารณะบางเส้นทางประกาศหยุดเดินรถจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลายด้วย
แน่นอนว่า สถานการณ์และมาตรการที่ออกมาได้ส่งผลกระทบต่อผู้รับบริการปรึกษาเรื่องท้องไม่พร้อมด้วย เนื่องจากการให้บริการยุติการตั้งครรภ์ยังไม่ใช่ระบบปกติของสถานพยาบาล แต่เป็นไปตามความพร้อมและความสมัครใจของแพทย์และบุคลากรในโรงพยาบาลนั้น ๆ ทำให้ผู้รับบริการที่ประสงค์ยุติตั้งครรภ์หลายรายต้องเดินทางข้ามจังหวัด ข้ามภาค ในขณะที่สถานการณ์ขณะนี้พบว่า รพ.และคลินิกหลายแห่งต้องเปลี่ยนแปลงวันเวลาในการให้บริการ ต้องสำรองกำลังคนและเตียงสำหรับคนไข้ที่ติดเชื้อโควิด และการเดินทางไปรับบริการเป็นไปด้วยความยากลำบากเพราะรถโดยสารประจำทางหยุดวิ่ง
ในสถานการณ์แบบนี้ คิดว่าทุกคนต้องช่วยกัน เมื่อสถานการณ์หลายอย่างไม่เอื้ออำนวยต่อการเดินทางเข้ารับบริการ สิ่งที่เราสามารถทำได้คือ
การป้องกันเพื่อไม่ให้ตัวเองตกอยู่ในสถานการณ์ท้องไม่พร้อม เช่น การคุมกำเนิดด้วยวิธีที่มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับชีวิตของเรา
หากมีความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ไปแล้ว การรู้ผลเร็วจะช่วยให้เราสามารถจัดการวางแผนชีวิตได้ เช่น หากความเสี่ยงนั้นไม่เกิน 120 ชม. การกินยาคุมฉุกเฉินก็ยังพอช่วยได้ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะกินยาคุมฉุกเฉินแล้ว ต้องตรวจการตั้งครรภ์หลังมีเพศสัมพันธ์ไปแล้ว 14 วัน หากผลตรวจพบว่าไม่ท้อง (ขึ้นขีดเดียว) ให้ตรวจซ้ำเพื่อคอนเฟิร์มผลหลังจากนั้นอีก 7 วัน
หากตรวจแล้วพบว่าตั้งครรภ์ เข้ารับบริการปรึกษาให้เร็วเพื่อจะได้วางแผนไปหน่วยบริการได้ในเร็ววัน กรณีอายุครรภ์น้อย เช่น ไม่เกิน 12 สัปดาห์ ยังพอมีหน่วยบริการในพื้นที่ ทำให้ไม่ต้องเดินทางข้ามภาค ข้ามจังหวัด
อย่างไรก็ตาม ในสถานการณ์เช่นนี้ “การตัดสินใจ” เป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้เราเข้ารับบริการได้เร็ว ในฐานะผู้ให้คำปรึกษาเราเข้าใจว่า การตัดสินใจเรื่องแบบนี้ไม่ง่าย เพราะจากข้อมูลก็พบว่า ผู้รับบริการส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 80 ปรึกษาเมื่ออายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ แต่ก็พบอีกว่า อีกเกือบร้อยละ 10 ตัดสินใจได้จริง ๆ ว่าจะยุติการตั้งครรภ์ก็เมื่ออายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ไปแล้ว
ช่วยกันค่ะ เราจะผ่านสถานการณ์นี้ไปด้วยกัน ทั้งการแพร่ระบาดของโควิด
-19 และเรื่องท้องไม่พร้อม
*** ความคิดเห็นของผู้เขียนอาจไม่จำเป็นต้องสอดคล้อง หรือเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับกองบรรณาธิการ ***
-->
X
เข้าสู่ระบบ
ชื่อผู้ใช้งาน
รหัสผ่าน
X
เข้าสู่ระบบ
ชื่อผู้ใช้งาน