ปรึกษาเรื่องเอดส์และท้องไม่พร้อม โทร 1663
Toggle navigation
หน้าแรก
รณรงค์รัฐสวัสดิการ
ระบบบำนาญแห่งชาติ
ประกันสังคม
หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
ระบบสิทธิบัตรและการเข้าถึงยา
เอดส์และท้องไม่พร้อม
1663 สายด่วนเอดส์และท้องไม่พร้อม
โครงการ เอดส์ 360
ข้อมูลเอดส์/ท้องไม่พร้อม
สื่อ/ดาวน์โหลด
สิ่งพิมพ์
คลิปวิดีโอ
หนังสั้น
เกี่ยวกับเรา
ปรัชญา/ความเชื่อ
เป้าหมาย
โครงสร้างการบริหาร
ติดต่อเรา
หน้าแรก
1663 สายด่วนเอดส์และท้องไม่พร้อม
โควิด-19 ส่งผลท้องไม่พร้อมพุ่ง แนะรัฐให้บริการออนไลน์
By nuttynui 6 ส.ค 2563 13:54:16
สายด่วน
1663 เผยคนท้องไม่พร้อมสูงขึ้นเนื่องจากมาตรการป้องกันโควิด-19 ของรัฐ แนะบริการสาธารณสุขควรจัดระบบปรึกษาออนไลน์และส่งยา เอื้อกรณีไม่สามารถเดินทางไปรับบริการยุติตั้งครรภ์ได้
เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม สายด่วนปรึกษาเอดส์และท้องไม่พร้อม 1663 และโครงการพัฒนาประสิทธิภาพระบบรับเรื่องร้องเรียนฯ ตาม พ.ร.บ.การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ โดยการสนับสนุนจาก สสส. จัดแถลงข่าว
“โควิด-
19 ส่งผลท้องไม่พร้อมพุ่ง แนะรัฐให้บริการออนไลน์”
ที่โรงแรมเอบีน่า เฮ้าส์ กรุงเทพฯ
นายสมวงศ์ อุไรวัฒนา
รองผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ ในฐานะผู้รับผิดชอบโครงการสายด่วนฯ 1663 และโครงการพัฒนาประสิทธิภาพระบบรับเรื่องร้องเรียนฯ เปิดเผยว่า ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ระบาดและรัฐบาลได้ออกมาตรการต่างๆ เพื่อควบคุมการระบาด เช่น การจำกัดการเดินทาง การกักตัว ทำให้ผู้ที่ประสบปัญหาท้องไม่พร้อม โดยเฉพาะผู้ที่จำเป็นต้องยุติการตั้งครรภ์ได้รับผลกระทบ เนื่องจากไม่สามารถเดินทางไปรับบริการได้ จากที่หน่วยบริการยุติการตั้งครรภ์มีไม่ครอบคลุมทุกจังหวัด และเงื่อนไขการให้บริการต่างกัน
“ข้อมูลของสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ วันที่ 21 พฤษภาคม หน่วยบริการยุติการตั้งครรภ์ทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีอยู่ 144 แห่งทั่วประเทศ หยุดให้บริการไป 62 แห่ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหน่วยบริการของภาครัฐ ทำให้ผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมจำนวนมากต้องเดินทางข้ามจังหวัด ข้ามภาค เพื่อไปรับบริการในหน่วยฯ ที่ยังให้บริการอยู่ ซึ่งการเดินทางเป็นไปโดยยาก เพราะขนส่งสาธารณะหยุดให้บริการ และแต่ละจังหวัดก็มีมาตรการคัดกรอง กักตัวผู้ที่มาจากต่างพื้นที่ ทำให้ผู้หญิงจำนวนหนึ่งจำใจต้องตั้งครรภ์ต่อบนความไม่พร้อม และอีกจำนวนหนึ่งตัดสินใจสั่งยาทำแท้งทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งเสี่ยงต่อความไม่ปลอดภัย” นายสมวงศ์กล่าวและว่า หากเราต้องการให้เด็กเกิดอย่างมีคุณภาพและไม่มีใครต้องบาดเจ็บล้มตายจากการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย บริการด้านอนามัยเจริญพันธุ์จะต้องมีอยู่ตลอด ไม่ว่าจะในสถานการณ์ปกติ หรือภาวะที่สังคมกำลังเผชิญกับโรคระบาดก็ตาม
รองผู้อำนวยการมูลนิธิฯ กล่าวอีกว่า การเข้าถึงบริการคุมกำเนิดในช่วงมาตรการป้องกันโควิดเข้มข้น ก็เข้ารับบริการยาก โดยมีผู้รับบริการตั้งครรภ์ในช่วงกักตัว 14 วันตามมาตรการของรัฐ เนื่องจากไม่มียาคุมฯ สายด่วนฯ จึงมีข้อเสนอต่อรัฐเกี่ยวกับบริการอนามัยเจริญพันธุ์ กรณีเกิดสถานการณ์โรคระบาด ดังนี้
เมื่อเกิดสถานการณ์การระบาดของโรคหรือความจำเป็นใดๆ ก็แล้วแต่ รัฐต้องเพิ่มบริการการเข้าถึงการคุมกำเนิดและการป้องกันโรค เช่น การสำรวจและแจกอุปกรณ์คุมกำเนิดให้กับทุกครอบครัว
กระทรวงสาธารณสุขต้องขยายหน่วยบริการที่ให้บริการยุติการตั้งครรภ์ในทุกจังหวัด
พัฒนาระบบเพื่อเพิ่มทางเลือกให้คนเข้าถึงสิทธิประโยชน์ได้ เช่น การส่งยาทางไปรษณีย์ หรือเทเลเมด (telemedicine-การให้บริการผ่านระบบเวชกรรม) ทั้งบริการยุติการตั้งครรภ์และการคุมกำเนิด
ด้านนายลาภิศ ฤกษ์ดี
ผู้ประสานงานด้านเด็กและเยาวชน มูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนา ในฐานะศูนย์รับเรื่องร้องเรียนภาคประชาสังคม จ.พะเยา เปิดเผยว่า จากการลงพื้นที่เพื่อพูดคุยเรื่องเพศและบอกสิทธิกับวัยรุ่น ตาม พ.ร.บ.ท้องวัยรุ่น พบว่า ทุกสถานศึกษามีสถานการณ์การตั้งครรภ์ของนักเรียน และส่วนใหญ่เมื่อทราบว่าตั้งครรภ์ เยาวชนจะลาออก เนื่องจากไม่ทราบสิทธิว่าท้องแล้วเรียนต่อได้ หลายรายต้องการยุติการตั้งครรภ์แต่ไม่ทราบว่ามีหน่วยบริการที่ไหนบ้าง และไม่กล้าปรึกษาหน่วยบริการใกล้บ้าน เนื่องจากกังวลเรื่องความลับและถูกโน้มน้าวให้ท้องต่อ นอกจากนี้ เมื่อตั้งครรภ์ต่อ ทางสถานศึกษาก็ไม่ได้มีระบบที่เอื้อให้เด็กท้องเรียนโดยไม่ต้องพักการเรียน นักเรียนส่วนใหญ่ที่ท้องแล้วต้องพักการเรียน จึงเลือกไปเรียน กศน.แทน เพราะจะได้จบการศึกษาทันเพื่อน
นายลาภิศ กล่าวต่อไปว่า ขอเรียกร้องให้รัฐจัดหาถุงยางอนามัยให้ตรงกับความต้องการของวัยรุ่นและทำงานเชิงทัศนะให้วัยรุ่นมีวิธีคิดเชิงบวกต่อการใช้ถุงยางฯ นอกจากนี้ หน่วยบริการสำหรับวัยรุ่นควรเป็นบริการแบบเบ็ดเสร็จในจุดเดียว (one stop service) และมีหน่วยที่คอยช่วยเหลือ คุ้มครองสิทธิ และรับเรื่องร้องเรียนกรณีวัยรุ่นถูกละเมิดสิทธิ โดยให้มีภาคประชาสังคมเข้าไปมีส่วนร่วมเพื่อช่วยประสานและเป็นตัวกลางระหว่างวัยรุ่นกับหน่วยงานที่ละเมิดสิทธิ
ทั้งนี้ ข้อมูลจากการให้บริการปรึกษาของสายด่วนฯ 1663 ช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2563 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รุนแรงในประเทศไทย เทียบกับช่วงเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นระยะแรกของการระบาด พบว่า มีผู้ที่ประสบปัญหาท้องไม่พร้อมเพราะความยากจนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 41.3 และต้องการให้ส่งต่อเพื่อเข้ารับบริการยุติการตั้งครรภ์ในหน่วยบริการของรัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 22 จากสถานการณ์ปกติ และเมื่อนำข้อมูลการให้บริการสายด่วน 1663 ตั้งแต่เดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2563 พบว่า มีผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม 565 รายที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการกักตัวและการลดการเดินทางของรัฐทำให้ยากต่อการเดินทางไปรับบริการยุติการตั้งครรภ์ และมี 79 รายที่จำเป็นต้องท้องต่อ เพราะไม่สามารถเดินทางไปยุติการตั้งครรภ์ได้
-->
X
เข้าสู่ระบบ
ชื่อผู้ใช้งาน
รหัสผ่าน
X
เข้าสู่ระบบ
ชื่อผู้ใช้งาน