แถลงการณ์
คัดค้านและประณามการปฏิเสธร่าง พ.ร.บ.บำนาญแห่งชาติ ฉบับประชาชน
นับตั้งแต่ประชาชน 13,246 รายชื่อยื่นเสนอร่าง พ.ร.บ.บำนาญแห่งชาติ พ.ศ. .... ต่อประธานรัฐสภา ตั้งแต่ 6 พฤศจิกายน 2562 แล้วประธานรัฐสภาวินิจฉัยว่าเป็นกฎหมายเกี่ยวกับการเงิน จึงส่งร่างฯ ฉบับนี้ไปยังนายกรัฐมนตรีเพื่อให้การรับรอง จนถึงปัจจุบัน เป็นเวลากว่า 15 เดือนแล้ว กระทั่งเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2564 นายกรัฐมนตรีมีความเห็นอย่างเป็นทางการว่าไม่รับรองร่าง พ.ร.บ.บำนาญแห่งชาติ ฉบับประชาชนให้เข้าสู่การพิจารณาในรัฐสภา
เป็นเวลากว่า 10 ปีที่รัฐจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ที่เน้นการสงเคราะห์ด้วยอัตราเบี้ยที่ไม่เพียงพอต่อการยังชีพ ในขณะที่ประเทศก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างเต็มรูปแบบ แต่รัฐกลับละเลยที่จะสร้างสวัสดิภาพให้กับประชาชน ด้วยการมีหลักประกันทางรายได้ที่เพียงพอและเท่าเทียม
การที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีปฏิเสธให้การรับรองร่างกฎหมายบำนาญแห่งชาติ ฉบับประชาชนครั้งนี้ ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า การเสนอกฎหมายของประชาชนเป็นเพียงข้ออ้างให้รัฐสร้างความชอบธรรมที่จะเมินเฉยต่อกระบวนการมีส่วนร่วมตามระบอบประชาธิปไตย แม้ว่าประชาชนจะใช้สิทธิภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญ แต่ไม่อาจฝ่าฟันซึ่งอำนาจของบุคคลเพียงคนเดียวได้ เพราะการไม่รับรองกฎหมายของนายกรัฐมนตรีครั้งนี้เป็นการตัดสินใจของบุคคลเพียงคนเดียวต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนกว่า 70 ล้านคน ซึ่งถือได้ว่าไม่ชอบธรรม แม้อ้างเหตุผลว่าตัดสินใจบนฐานความเห็นจากหน่วยงานราชการทั้ง 7 หน่วยงาน แต่ไร้ซึ่งเสียงของประชาชน ผู้มีส่วนได้เสียกับร่างกฎหมายฉบับนี้
หากนายกรัฐมนตรีเคารพในหลักการตามครรลองของประชาธิปไตยอย่างแท้จริงแล้ว ควรเสนอกฎหมายที่ประชาชนร่วมกันลงมือร่างเข้าสู่การพิจารณาของสภา อันสะท้อนถึงตัวแทนของประชาชนที่ได้เลือกสรรมา มากกว่าการมีบัญชาไม่รับรองร่างกฎหมาย
พวกเรา ประชาชนทั้งหลาย ที่ร่วมกันลงลายมือชื่อทั้ง 13,246 รายชื่อนี้ ขอประณามกระบวนการของรัฐราชการ ที่ไร้ซึ่งสำนึกของความเป็นประชาธิปไตย ในการปัดตกกฎหมายที่ประชาชนใช้สิทธิทางประชาธิปไตยเสนอกฎหมายบำนาญแห่งชาติ ซึ่งการปฏิเสธที่จะพิจารณากฎหมายของประชาชนโดยนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา รวมทั้งข้าราชการและหน่วยงานที่ให้ความเห็น คือการใช้อำนาจที่เป็นของประชาชนมาลิดรอนสิทธิของประชาชน ถือเป็นความอัปยศอย่างรุนแรงที่นักการเมืองและข้าราชการกระทำต่อประชาชน เพราะได้ทำลายกระบวนการประชาธิปไตยที่ชอบธรรมออกไปจากสังคมไทยแล้ว
เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ เครือข่ายองค์กร และประชาชนตามรายชื่อด้านล่างนี้ ขอประณามและคัดค้านต่อการบัญชาของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี รวมทั้งหน่วยงานราชการทั้ง 7 องค์กรที่ไม่เห็นด้วยและปัดตกร่างกฎหมายของประชาชนครั้งนี้
เราขอยืนยันว่า การเสนอกฎหมายโดยประชาชนเป็นการกระทำที่ถูกต้องตามกฎหมาย นายกรัฐมนตรีเพียงคนเดียวไม่ควรใช้สิทธิเหนือกว่ามาตัดสินข้อเสนอของประชาชน แต่ต้องสร้างความชอบธรรมด้วยการเสนอความเห็นและนำกฎหมายของประชาชนเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาที่ได้ชื่อว่ามาจากประชาชน การปัดตกกฎหมายย่อมถือได้ว่าเป็นการปฏิเสธความเห็นของประชาชนผู้เป็นเจ้าของประเทศ
สุดท้ายนี้ เราขอเรียกร้องให้พี่น้องประชาชนทั้งประเทศจับตามองและส่งเสียงถึงนายกรัฐมนตรีให้นำร่าง พ.ร.บ.บำนาญแห่งชาติ ฉบับประชาชนกลับมาพิจารณาใหม่โดยเร็ว
เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ
8 กุมภาพันธ์ 2564
- กลไกสนับสนุนศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน หน่วย 50(5) เขต 10 อุบลราชธานี
- กลุ่มเขลางค์เพื่อการพัฒนา
- กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ
- กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด 6 หมู่บ้าน (คัดค้านเหมืองทองคำ ต.เขาหลวง อ.วังสะพุง จ.เลย)
- กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดบำเหน็จณรงค์ (คัดค้านเหมืองโปแตสและโรงไฟฟ้าถ่านหิน จ.ชัยภูมิ)
- กลุ่มดินสอสี
- กลุ่มนิเวศวัฒนธรรมศึกษา
- กลุ่มปลาดาว
- กลุ่มพะยูนศรีตรัง จ.ตรัง
- กลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนศูนย์องค์รวม โรงพยาบาลศรีสะเกษ
- กลุ่มรักยิ้ม
- กลุ่มรักษ์น้ำซับคำป่าหลาย(คัดค้านการขอประทานบัตรทำเหมืองหินทราย ต.คำป่าหลาย อ.เมือง จ.มุกดาหาร)
- กลุ่มรักษ์บ้านแหง (คัดค้านการขอประทานบัตรทำเหมืองหินถ่านลิกไนต์ ต.บ้านแหง อ.งาว จ.ลำปาง)
- กลุ่มรักษ์อำเภอวานรนิวาส(คัดค้านการขุดเจาะสำรวจแร่โปแตช อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร)
- กลุ่มรุ้งอรุณ จ.ลำปาง
- กลุ่มศาลายาเนี่ยน
- กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (เอฟทีเอ ว็อทช์)
- กลุ่มสตรีตำบลลมศักดิ์ อ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ
- กลุ่มสร้างสรรค์กำลังใจ โรงพยาบาลกันทรลักษ์ อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ
- กลุ่มอนุรักษ์ป่าชุมชนเขาเหล่าใหญ่-ผาจันได (คัดค้านการทำเหมืองหิน ต.ดงมะไฟ อ.สุวรรณคูหา จ.หนองบัวลำภู)
- ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม
- คณะกรรมการองค์การพัฒนาเอกชนด้านเอดส์
- เครือข่ายศูนย์สิทธิผู้บริโภค กรุงเทพมหานคร
- เครือข่ายกลุ่มผู้สูงอายุชุมชนเมือง
- เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก
- เครือข่ายคนรุ่นใหม่เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม
- เครือข่ายชุมชนคนฮักน้ำของ
- เครือข่ายเด็กและเยาวชน จ.มหาสารคาม
- เครือข่ายเด็กและเยาวชนภาคเหนือ
- เครือข่ายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดอำนาจเจริญ
- เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน
- เครือข่ายปฏิรูปสังคมและการเมือง
- เครือข่ายประชาชนในระบบหลักประกันสุขภาพ เขต 10
- เครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่
- เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี จ.อุบลราชธานี
- เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ จังหวัดศรีสะเกษ
- เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย
- เครือข่ายผู้บริโภคภาคเหนือ
- เครือข่ายผู้สูงอายุภาคเหนือ
- เครือข่ายผู้หญิงในระบบหลักประกันสุขภาพมาตรฐานเดียว
- เครือข่ายผู้หญิงเพื่อสุขภาพประเทศไทย
- เครือข่ายผู้หญิงอีสาน
- เครือข่ายพลังผู้สูงวัย
- เครือข่ายพิทักษ์สิทธิผู้บริโภคจังหวัดมหาสารคาม
- เครือข่ายรัฐสวัสดิการเพื่อความเท่าเทียมและเป็นธรรม (We Fair)
- เครือข่ายแรงงานนอกระบบภาคอีสาน
- เครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน
- เครือข่ายศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพ พื้นที่กรุงเทพมหานคร
- เครือข่ายศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน เขต 1
- เครือข่ายสลัม 4 ภาค
- เครือข่ายสุขภาพและโอกาส
- โครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านทรัพยากรแร่
- โครงการสนับสนุนการพัฒนาท้องถิ่น
- ชมรม อพม.ระดับอำเภอ 7 อำเภอ
- ชมรมคนงานสูงวัย
- ชมรมอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดอำนาจเจริญ
- ชมรมอาสาสมัครแรงงานจังหวัดอำนาจเจริญ
- ภาคีนิรนาม
- มูลนิธิเข้าถึงเอดส์
- มูลนิธิไทยอาทร
- มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม
- มูลนิธิผู้หญิงที่อยู่ร่วมกับ
- มูลนิธิพัฒนาเครือข่ายสุขภาพ สำนักงานภาคเหนือ
- มูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ
- มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
- มูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์
- ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคปทุมธานี
- ศูนย์ประสานงานเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ยโสธร
- ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพ (ศูนย์เพื่อนหญิงอำนาจเจริญ)
- ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพตำบลบ่อแก้ว อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ
- ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน เครือข่าย อสม. จังหวัดอุบลราชธานี
- ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ จังหวัดอำนาจเจริญ
- ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน จังหวัดอำนาจเจริญ
- ศูนย์วิจัยเฉพาะทาง
- สถาบันแรงงานและเศรษฐกิจที่เป็นธรรม (JELI)
- สภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย
- สมัชชาคนจน
- สมาคมคนรุ่นใหม่กับนวัตกรรมทางสังคม
- สมาคมคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคภาคตะวันออก
- สมาคมเครือข่ายแรงงานนอกระบบ (ประเทศไทย)
- สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
- สมาคมผู้บริโภคสุราษฎร์ธานี
- สมาคมผู้สื่อข่าวส่วนกลางอำนาจเจริญ
- สมาคมพลเมืองอาสาพัฒนาท้องถิ่นจังหวัดอำนาจเจริญ
- สมาคมศูนย์ประสานงานองค์การเอกชนจังหวัดอำนาจเจริญ
- สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้
- สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ
- สหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอ การตัดเย็บเสื้อผ้าและผลิตภัณฑ์หนังแห่งประเทศไทย
- สหภาพนักศึกษาและคนทำงานย่านศาลายาสหวิทยาการด้านรัฐสวัสดิการและความเป็นธรรมศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- หน่วยรับเรื่องร้องเรียนอื่นที่เป็นอิสระจากผู้ถูกร้องเรียน มาตรา 50(5) จ.อุบลราชธานี
- หน่วยรับเรื่องร้องเรียนอื่นที่เป็นอิสระจากผู้ถูกร้องเรียน มาตรา 50(5) จังหวัดมหาสารคาม
- หน่วยรับเรื่องร้องเรียนอื่นที่เป็นอิสระจากผู้ถูกร้องเรียน มาตรา 50(5) เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก จังหวัดยโสธร
- หน่วยรับเรื่องร้องเรียนอื่นที่เป็นอิสระจากผู้ถูกร้องเรียน มาตรา 50(5) จังหวัดศรีสะเกษ
- หน่วยรับเรื่องร้องเรียนอื่นที่เป็นอิสระจากผู้ถูกร้องเรียน มาตรา 50(5) จังหวัดฉะเชิงเทรา
- หน่วยรับเรื่องร้องเรียนอื่นที่เป็นอิสระจากผู้ถูกร้องเรียน มาตรา 50(5) จังหวัดสระแก้ว
- หน่วยรับเรื่องร้องเรียนอื่นที่เป็นอิสระจากผู้ถูกร้องเรียน มาตรา 50(5) จังหวัดจันทบุรี
- เอชไอวี Healthy Forum
- Rainbow Dream Group Thailand จ.เชียงใหม่
- Thai Online Station
- นิวัตร สุวรรณพัฒนา
- ปราณี วินัง
- หทัยรัตน์ สุดา ห้องสมุดผีเสื้อ จังหวัดศรีสะเกษ